Translate

วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555


 40 หะดีษ
عَنْ أَبِيْ هُرَيْرَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ  :  قَالَ رَسُوْلَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمْ
إَذَا كَانَ أَوَّلُ لَيْلَةٍ مِنْ شَهْرِ رَمَضَانَ صُفِّدَتْ الْشَّيَاطِيْنُ وَمَرَدَةُ الجِنِّ وَغُلِّقَتْ أَبْوَابُ النَّار، فَلَمْ يُفْتَحْ مِنْهَا بَابٌ،
وَفُتِحَتْ أَبْوَابُ الجَنَّةِ فَلَمْ يُغْلَقْ مِنْهَا بَابٌ ، وَيُنَادِى مُنَادٍ : يَا بَاغِيَ الْخَيْرِ أَقْبِلْ ، وَيَا بَاغِيَ الشَّرِ أَقْصِرْ
وَلِلهِ عُتَقَاءُ مِنَ النَّارِ، وَذَلِكَ كُلُّ لَيْلَةٍ
رواه الإمام أحمد 4/311 – 312 والترمذى 683 والنسائى 4/130 وابن ماجه 1642
ความว่า จากอบี ฮุรอยเราะห์เราะฏิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่าท่าน รอซู กล่าวว่า เมื่อ ค่ำคืนแรกของเดือนรอมฏอนได้เยือนมา บรรดาชัยฏอนมารร้ายและบรรดาญินที่เนรคุณก็จะถูกล่ามโซ่ไว้ บรรดาประตูนรกก็จะถูกปิด จะไม่มีแม้แต่ประตูเดียวที่เปิดไว้ และบรรดาประตูสวรรค์ก็จะถูกเปิด จะไม่มีแม้แต่ประตูเดียวที่ปิดไว้ และผู้ประกาศก็จะป่าวประกาศโดยกล่าวว่า (ด้วยคำพูด)โอ้ผู้ใฝ่หาความดีจงทำต่อไปเถิด และโอ้ผู้ใฝ่หาความชั่วจงหยุดกระทำ(ความชั่ว)เถิด  และเป็นสิทธิของอัลลอฮที่จะปลดปล่อยคนจำนวนหนึ่งจากจำนวนที่มากมายจากไฟ นรกและเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นทุกค่ำคืน (ของเดือนรอมฏอน)
(รายงานโดยอะหมัด 4/311-312 อัตติรมีซีย์ 683 อันนะซาอีย์ 4/130 และอิบนุ มาญะห์ 1642)
عَنْ َأبِي هُرَيْرََة رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ قَال سمعت رسول الله صلى الله عليه وسلم يقول قال الله عز وجل : كل عمل ابن آدم له إلا الصيام . هو لي وأنا أجزي به 
( (مسلم رقم 1942
ความหมาย
ความว่า
จากท่าน อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ เล่าจากท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านได้กล่าวว่า อัลลอฮฺ ผู้ทรงเกรียงไกรและสูงส่งได้มีดำรัสว่าการงานทุกประการของมนุษย์นั้น(จะได้รับผลบุญ)ตามส่วนที่เขาได้กระทำ ยกเว้นการถือศีลอด (ผลตอบแทนต่อ)การถือศีลอดนั้นเป็นสิทธิของฉัน และฉันจะตอบแทน(ตามความประสงค์ของฉัน)เอง1
(รายงานโดยมุสลิม)
.
ประตูสวรรค์ อัรฺ-ร็อยยาน สำหรับผู้ถือศีลอด
عَنْ سَهْلِ بْنِ سَعْدٍ السَاعِدِىْ رَضِىَ اللهُ عَنْهُ قَالَ : سَمِعْتُ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهِ عَلَيْهِ وَسَلَّمْ يَقُولُ : إِنَّ فِي الجَنَّةِ بَاباً يُقَالُ لَهُ : الرَيَّانُ ، فَإِذَا كَانَ يَومَ القِيَامَةِ قِيْلَ : أَيْنَ الصَائِمُوْنَ ؟  فَإِذَا دَخَلُوا ، أَغْلِقَ فَيَشْرَبُوْنَ مِنْهُ ، فَمَنْ شَرِبَ مِنْهُ لَمْ يَظْمَأ أَبَدًا.
   رواه الترمذي 765 والنسائى 4/168
ความว่า
จาก ซะห์ล บิน สะอ์ด อัซซาอิดีย์ กล่าวว่า ฉันฟังท่าน รอซูล (ศ็อลฯ) กล่าวว่าแท้จริงแล้วในสรวงสวรรค์นั้นจะปรากฏประตูหนึ่งชื่อว่า
الريَّان  ” ดังนั้นเมื่อวันปรโลกได้เกิดขึ้น มะลาอิกะฮ์จะถามว่า : ผู้ที่ถือศีลอดอยู่ไหน? ครั้นเมื่อผู้ที่ถือศีลอดเข้าไป ประตูก็จะปิด และพวกเขาก็จะดื่มน้ำจากสรวงสวรรค์ ผู้ใดที่ได้ดื่มน้ำจากสรวงสวรรค์แล้วเขาจะไม่รู้สึกกระหายตลอดไป” (บันทึกโดยอัต-ติรมีซี 765 และอัลนะซาอีย์ 4/168/)
คำอธิบาย
الريَّان”  เป็นชื่อหนึ่งของประตูสวรรค์ที่อัลลอฮได้เตรียมไว้แก่บรรดาผู้ถือศีลอด เดิมมาจากคำภาษาอาหรับว่า อัล-ร็อยย์หมายถึง การรดน้ำหรือการทำให้หายไปจากความกระหาย จึงเป็นสิ่งที่สมควรสำหรับผู้ที่ถือศีลอด
อัซ-ซัยน์ อิบนุ อัล-มุนีร กล่าวว่า ประตูดังกล่าวนั้นอยู่ในสรวงสวรรค์มิใช่ว่าสวรรค์นั้นมีประตูหาใช่ไม่ ซึ่งเป็นการให้ตระหนักว่าในประตูดังกล่าวนั้นจะปรากฎซึ่งเนี๊ยะมัตและการพัก ผ่อนหย่อนใจในสวนสวรรค์  ดังนั้นจึงมีความสุขสำราญและรำลึกถึงประตูดังกล่าว [ฟัตฮุล บารีย์ 4/111]
ห่างไกลจากไฟนรก
عَنْ أَبِى سَعِيْدٍ الخُدْرِي رَضِىَ اللهُ عَنْهُ قَالَ : سَمِعْتُ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهِ عَلَيْهِ وَسَلَّم يَقُولُ : " مَنْ صَامَ يَوْمًا فِي سَبِيْلِ اللهِ بَاعَدَ اللهُ وَجْهَهُ عَنِ النَّارِ سَبْعِيْنَ خَرِيْفًا ".
رواه مسلم 2/808
ความว่า
จา กอบี สะอีด อัลคุฎรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านรอซูล (ศ็อลฯ) กล่าวว่า ผู้ใดถือศีลอดเพื่ออัลลอฮฺหนึ่งวัน อัลลอฮฺจะทรงให้ใบหน้าของเขาห่างไกลจากไฟนรกเจ็ดสิบปี” (บันทึกโดยมุสลิม 2/808)
คำอธิบายหะดีษ
บรรดาอุลามาอ์มีทัศนะที่แตกต่างกันเกี่ยวกับคำว่า
في سبيل الله”  โดยมีทัศนะดังต่อไปนี้
- อิบนุ อัลเญาซีย์ กล่าวว่า เป็นการญิฮาด (การพลีชีพในหนทางของอัลลอฮ)
- อัลกุรฏุบีย์ กล่าวว่า เป็นการภักดีต่ออัลลอฮ
- อัลฮาฟิซ กล่าวว่า เป็นคำที่มีความหมายที่กว้างกว่าทัศนะข้างต้น
- อิบนุ ดะกีก อัลอีด กล่าวว่า โดยปกติแล้วจะใช้คำว่า
في سبيل الله”  กับการญิฮาด (การพลีชีพในหนทางของอัลลอฮ)
ความประเสริฐของอาหารซุฮุร
عَنْ أَنَسٍ رَضِىَ اللهُ عَنْهُ أَنَّ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّم قَالَ : تَسَحَّرُوا فَإِنَّ فِي السُّحُورِ بَرَكَةٌ
ความว่า
จากอนัส เราะฏิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านรอซูลกล่าวว่า จงรับประทานอาหารซูฮูร แท้จริงแล้วในนั้นมีความประเสริฐอยู่  (หะดีษรายงานโดยอัลบุคอรี 1823 และมุสลิม 2/770)
คำอธิบาย
ความหมายของความประเสริฐก็คือ ได้รับผลบุญ ผลตอบแทน และความประเสริฐอันเนื่องจากสาเหตุ ดังนี้
- เป็นการปฏิบัติตามแบบอย่างของท่านรอซูล
- เป็นการทำให้แต่งจากชาวกิตาบ (ยิวและคริสเตียน) ซึ่งพวกเขาไม่ทานอาหารซุหูรตามที่ระบุไว้ในหะดีษที่รายงานโดยมุสลิมจากอัมรุ บิน อ๊าศ แท้จริงท่านรอซูลกล่าวว่าความแตกต่างระหว่างการถือศีลอดของเรากับชาวคัมภีร์คือ การทาน ซุหูร
- สามารถประกอบอิบาดะห์ได้อย่างขันแข็ง
- เพิ่มความคล่องแคล่ว
- สามารถขจัดมารยาทที่ไม่ดีอันเกิดจากความหิวโหย
- จะนำไปสู่การวิงวอน (ดุอา) และการซิกรุลลอฮ
- ผู้ที่ลืมเนียตก่อนเข้านอน สามารถทำการเนี๊ยตได้ (ฟัตฮุลบารีย์ 4/140) 
บทเรียนจากหะดีษ
1. การชี้นำของท่านรอซูลแก่บรรดาผู้ศรัทธาเกี่ยวกับความพร้อมในการถือศีลอดนั่นคือ ให้รับประทานอาหารซุหูรก่อนถึงเวลาถือศีลอด
2. ซุหูร คือ การรับประทานอาหารก่อนเวลาซุบฮ์สำหรับผู้ที่ถือศีลอดในเดือนรอมฏอนหรือในวันอื่นๆ

3. ท่านรอซูลได้อธิบายเกี่ยวกับอาหารซุหูรว่ามีความประเสริฐ ในรายงานอื่นระบุว่าซุหูรเป็นอาหารที่ได้รับการประทานความประเสริฐโดยอัลลอฮ
4.  บะเราะกะฮ์หมายถึง ผลบุญเพิ่มมากขึ้น
5.  หุก่มของการรับประทานอาหารซุหูร คือ สุนัต ผู้ที่กระทำจะได้รับผลบุญ ในรายงานอื่นมีอยู่ว่าอัลลอฮและบรรดามะลาอิกะห์จะเศาะละวัตแก่บรรดาผู้ที่ รับประทานอาหารซุหูร การเศาะละวัตของอัลลอฮนั้นก็คือ พระองค์จะทรงประทานความโปรดปรานแก่พวกเขา และการเศาะละวัตของบรรดามะลาอิกะห์ก็คือ พวกเขาจะขอให้อัลลอฮทรงให้อภัยแก่พวกเขา ดังนั้นเข้าใจว่าผู้ที่ไม่ได้รับประทานอาหารซุหูรจะไม่ได้รับความโปรดปราน จากอัลลอฮและการวิงวอนจากบรรดามะลาอิกะห์ในเวลานั้น
ศีลอดและอัลกุรอานสามารถช่วยเหลือท่านได้
عَنْ عَبْدِاللهِ بْنِ عُمْرِو بْنِ العاَصِ رَضِىَ اللهُ عَنْهُماَ : أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ  عَلَيْهِ وَسَلَّمِ قاَلَ : الصِّياَمُ وَالْقُرْآنُ يَشْفَعاَنِ لِلْعَبْدِ يَوْمَ القِياَمَةِ . يَقُوْلُ الصِّياَمُ : أَىْ رَبِّ مَنَعْتُهُ الطَّعاَمَ وَالشَّهَواَتِ بِالنَّهاَرِ فَشَفَّعْنِى فِيْهِ وَيَقُوْلُ القُرْآنُ : أَىْ رَبِّ مَنَعْتُهُ النَّوْمَ بِالْلَيْلِ فَشَفَّعْنِى فِيْهِ . قاَلَ فَيُشَفَّعاَنِ
ความว่า
จากอับดุลลาฮฺ บิน อัมรู (บินอัล-อาศ)เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่าน รอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่าการถือศีลอดและอัลกุรอานจะให้ความช่วยเหลือแก่บ่าวในอาคิเราะห์ ศีลอดจะกล่าวว่า โอ้พระผู้อภิบาลของฉัน! ฉันทำให้เขาต้องอดอาหารและอดทนจากอารมณ์ใฝ่ต่ำในตอนกลางวัน ดังนั้น (อนุญาต) ให้ฉันให้ความช่วยเหลือแก่เขาเถิดและอัลกุรอานกล่าวว่าโอ้พระผู้อภิบาลของฉัน! ฉันทำให้เขาต้องอดหลับอดนอนในตอนกลางคืน ดังนั้น (อนุญาต) ให้ฉันให้ความช่วยเหลือแก่เขาเถิดท่านรอซูล กล่าวว่า จากนั้นทั้งสองก็ได้รับอนุญาตจากอัลลอฮฺเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่เขา”(ผู้ ที่ถือศีลอดและอ่านอัลกุรอาน)   (บันทึกโดยอะห์มัด 2/174 อัตเตาะบะรอนี มัจญ์มะอฺ อัซซะวาอิด 3/1818: ริญาล อัตเตาะบะรีย์ ริญาลุ อัศ-เศาะหี๊ห์)
บทเรียนจากหะดีษ
1. หะดีษนี้อธิบายถึงความประเสริฐของการถือศีลอดและการอ่านอัลกุรอาน
2. การถือศีลอดของบ่าวนั้น ก็เพื่อที่เขาจะได้มีความอดทนจากการกิน การดื่ม และควบคุมอารมณ์ใฝ่ต่ำ เนื่องจากแสวงหาความโปรดปรานของอัลลอฮฺ
3. การอ่านอัลกุรอานทำให้บ่าวของอัลลอฮฺมีความอดทนจากการหลับนอนในยามค่ำคืน เพื่อใช้เวลาในการอ่านอัลกุรอาน ทำความเข้าใจเนื้อหาและท่องจำด้วยความซาบซึ้ง
4. อัลลอฮฺทรงอำนาจในการเปลี่ยนแปลงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่นอกเหนือกฏธรรมชาติ เช่น การถือศีลอดและอัลกุรอานสามารถพูดกับอัลลอฮฺได้
5. ไม่มีผู้ใดมีอำนาจและสามารถให้ความช่วยเหลือใดๆ แก่บ่าวของพระองค์ นอกจากจะได้รับการอนุมัติจากพระองค์
6. ใช้ให้ถือศีลอดและอ่านอัลกุรอานอย่างเต็มความหมาย พร้อมกับรักษามารยาทในขณะอ่านอัลกุรอานเพื่อได้รับความช่วยเหลือในอาคิเราะฮฺ
7. เวลาที่ประเสริฐที่สุดในการอ่านอัลกุรอานคือ เวลากลางคืน
8. ใช้ให้ระลึกถึงอาคิเราะฮฺ และความน่าสะพรึงกลัวของอาคิเราะฮฺ พร้อมกับให้เตรียมความพร้อมสำหรับวันนั้น