Translate

วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555


 40 หะดีษ
عَنْ أَبِيْ هُرَيْرَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ  :  قَالَ رَسُوْلَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمْ
إَذَا كَانَ أَوَّلُ لَيْلَةٍ مِنْ شَهْرِ رَمَضَانَ صُفِّدَتْ الْشَّيَاطِيْنُ وَمَرَدَةُ الجِنِّ وَغُلِّقَتْ أَبْوَابُ النَّار، فَلَمْ يُفْتَحْ مِنْهَا بَابٌ،
وَفُتِحَتْ أَبْوَابُ الجَنَّةِ فَلَمْ يُغْلَقْ مِنْهَا بَابٌ ، وَيُنَادِى مُنَادٍ : يَا بَاغِيَ الْخَيْرِ أَقْبِلْ ، وَيَا بَاغِيَ الشَّرِ أَقْصِرْ
وَلِلهِ عُتَقَاءُ مِنَ النَّارِ، وَذَلِكَ كُلُّ لَيْلَةٍ
رواه الإمام أحمد 4/311 – 312 والترمذى 683 والنسائى 4/130 وابن ماجه 1642
ความว่า จากอบี ฮุรอยเราะห์เราะฏิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่าท่าน รอซู กล่าวว่า เมื่อ ค่ำคืนแรกของเดือนรอมฏอนได้เยือนมา บรรดาชัยฏอนมารร้ายและบรรดาญินที่เนรคุณก็จะถูกล่ามโซ่ไว้ บรรดาประตูนรกก็จะถูกปิด จะไม่มีแม้แต่ประตูเดียวที่เปิดไว้ และบรรดาประตูสวรรค์ก็จะถูกเปิด จะไม่มีแม้แต่ประตูเดียวที่ปิดไว้ และผู้ประกาศก็จะป่าวประกาศโดยกล่าวว่า (ด้วยคำพูด)โอ้ผู้ใฝ่หาความดีจงทำต่อไปเถิด และโอ้ผู้ใฝ่หาความชั่วจงหยุดกระทำ(ความชั่ว)เถิด  และเป็นสิทธิของอัลลอฮที่จะปลดปล่อยคนจำนวนหนึ่งจากจำนวนที่มากมายจากไฟ นรกและเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นทุกค่ำคืน (ของเดือนรอมฏอน)
(รายงานโดยอะหมัด 4/311-312 อัตติรมีซีย์ 683 อันนะซาอีย์ 4/130 และอิบนุ มาญะห์ 1642)
عَنْ َأبِي هُرَيْرََة رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ قَال سمعت رسول الله صلى الله عليه وسلم يقول قال الله عز وجل : كل عمل ابن آدم له إلا الصيام . هو لي وأنا أجزي به 
( (مسلم رقم 1942
ความหมาย
ความว่า
จากท่าน อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ เล่าจากท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านได้กล่าวว่า อัลลอฮฺ ผู้ทรงเกรียงไกรและสูงส่งได้มีดำรัสว่าการงานทุกประการของมนุษย์นั้น(จะได้รับผลบุญ)ตามส่วนที่เขาได้กระทำ ยกเว้นการถือศีลอด (ผลตอบแทนต่อ)การถือศีลอดนั้นเป็นสิทธิของฉัน และฉันจะตอบแทน(ตามความประสงค์ของฉัน)เอง1
(รายงานโดยมุสลิม)
.
ประตูสวรรค์ อัรฺ-ร็อยยาน สำหรับผู้ถือศีลอด
عَنْ سَهْلِ بْنِ سَعْدٍ السَاعِدِىْ رَضِىَ اللهُ عَنْهُ قَالَ : سَمِعْتُ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهِ عَلَيْهِ وَسَلَّمْ يَقُولُ : إِنَّ فِي الجَنَّةِ بَاباً يُقَالُ لَهُ : الرَيَّانُ ، فَإِذَا كَانَ يَومَ القِيَامَةِ قِيْلَ : أَيْنَ الصَائِمُوْنَ ؟  فَإِذَا دَخَلُوا ، أَغْلِقَ فَيَشْرَبُوْنَ مِنْهُ ، فَمَنْ شَرِبَ مِنْهُ لَمْ يَظْمَأ أَبَدًا.
   رواه الترمذي 765 والنسائى 4/168
ความว่า
จาก ซะห์ล บิน สะอ์ด อัซซาอิดีย์ กล่าวว่า ฉันฟังท่าน รอซูล (ศ็อลฯ) กล่าวว่าแท้จริงแล้วในสรวงสวรรค์นั้นจะปรากฏประตูหนึ่งชื่อว่า
الريَّان  ” ดังนั้นเมื่อวันปรโลกได้เกิดขึ้น มะลาอิกะฮ์จะถามว่า : ผู้ที่ถือศีลอดอยู่ไหน? ครั้นเมื่อผู้ที่ถือศีลอดเข้าไป ประตูก็จะปิด และพวกเขาก็จะดื่มน้ำจากสรวงสวรรค์ ผู้ใดที่ได้ดื่มน้ำจากสรวงสวรรค์แล้วเขาจะไม่รู้สึกกระหายตลอดไป” (บันทึกโดยอัต-ติรมีซี 765 และอัลนะซาอีย์ 4/168/)
คำอธิบาย
الريَّان”  เป็นชื่อหนึ่งของประตูสวรรค์ที่อัลลอฮได้เตรียมไว้แก่บรรดาผู้ถือศีลอด เดิมมาจากคำภาษาอาหรับว่า อัล-ร็อยย์หมายถึง การรดน้ำหรือการทำให้หายไปจากความกระหาย จึงเป็นสิ่งที่สมควรสำหรับผู้ที่ถือศีลอด
อัซ-ซัยน์ อิบนุ อัล-มุนีร กล่าวว่า ประตูดังกล่าวนั้นอยู่ในสรวงสวรรค์มิใช่ว่าสวรรค์นั้นมีประตูหาใช่ไม่ ซึ่งเป็นการให้ตระหนักว่าในประตูดังกล่าวนั้นจะปรากฎซึ่งเนี๊ยะมัตและการพัก ผ่อนหย่อนใจในสวนสวรรค์  ดังนั้นจึงมีความสุขสำราญและรำลึกถึงประตูดังกล่าว [ฟัตฮุล บารีย์ 4/111]
ห่างไกลจากไฟนรก
عَنْ أَبِى سَعِيْدٍ الخُدْرِي رَضِىَ اللهُ عَنْهُ قَالَ : سَمِعْتُ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهِ عَلَيْهِ وَسَلَّم يَقُولُ : " مَنْ صَامَ يَوْمًا فِي سَبِيْلِ اللهِ بَاعَدَ اللهُ وَجْهَهُ عَنِ النَّارِ سَبْعِيْنَ خَرِيْفًا ".
رواه مسلم 2/808
ความว่า
จา กอบี สะอีด อัลคุฎรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านรอซูล (ศ็อลฯ) กล่าวว่า ผู้ใดถือศีลอดเพื่ออัลลอฮฺหนึ่งวัน อัลลอฮฺจะทรงให้ใบหน้าของเขาห่างไกลจากไฟนรกเจ็ดสิบปี” (บันทึกโดยมุสลิม 2/808)
คำอธิบายหะดีษ
บรรดาอุลามาอ์มีทัศนะที่แตกต่างกันเกี่ยวกับคำว่า
في سبيل الله”  โดยมีทัศนะดังต่อไปนี้
- อิบนุ อัลเญาซีย์ กล่าวว่า เป็นการญิฮาด (การพลีชีพในหนทางของอัลลอฮ)
- อัลกุรฏุบีย์ กล่าวว่า เป็นการภักดีต่ออัลลอฮ
- อัลฮาฟิซ กล่าวว่า เป็นคำที่มีความหมายที่กว้างกว่าทัศนะข้างต้น
- อิบนุ ดะกีก อัลอีด กล่าวว่า โดยปกติแล้วจะใช้คำว่า
في سبيل الله”  กับการญิฮาด (การพลีชีพในหนทางของอัลลอฮ)
ความประเสริฐของอาหารซุฮุร
عَنْ أَنَسٍ رَضِىَ اللهُ عَنْهُ أَنَّ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّم قَالَ : تَسَحَّرُوا فَإِنَّ فِي السُّحُورِ بَرَكَةٌ
ความว่า
จากอนัส เราะฏิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านรอซูลกล่าวว่า จงรับประทานอาหารซูฮูร แท้จริงแล้วในนั้นมีความประเสริฐอยู่  (หะดีษรายงานโดยอัลบุคอรี 1823 และมุสลิม 2/770)
คำอธิบาย
ความหมายของความประเสริฐก็คือ ได้รับผลบุญ ผลตอบแทน และความประเสริฐอันเนื่องจากสาเหตุ ดังนี้
- เป็นการปฏิบัติตามแบบอย่างของท่านรอซูล
- เป็นการทำให้แต่งจากชาวกิตาบ (ยิวและคริสเตียน) ซึ่งพวกเขาไม่ทานอาหารซุหูรตามที่ระบุไว้ในหะดีษที่รายงานโดยมุสลิมจากอัมรุ บิน อ๊าศ แท้จริงท่านรอซูลกล่าวว่าความแตกต่างระหว่างการถือศีลอดของเรากับชาวคัมภีร์คือ การทาน ซุหูร
- สามารถประกอบอิบาดะห์ได้อย่างขันแข็ง
- เพิ่มความคล่องแคล่ว
- สามารถขจัดมารยาทที่ไม่ดีอันเกิดจากความหิวโหย
- จะนำไปสู่การวิงวอน (ดุอา) และการซิกรุลลอฮ
- ผู้ที่ลืมเนียตก่อนเข้านอน สามารถทำการเนี๊ยตได้ (ฟัตฮุลบารีย์ 4/140) 
บทเรียนจากหะดีษ
1. การชี้นำของท่านรอซูลแก่บรรดาผู้ศรัทธาเกี่ยวกับความพร้อมในการถือศีลอดนั่นคือ ให้รับประทานอาหารซุหูรก่อนถึงเวลาถือศีลอด
2. ซุหูร คือ การรับประทานอาหารก่อนเวลาซุบฮ์สำหรับผู้ที่ถือศีลอดในเดือนรอมฏอนหรือในวันอื่นๆ

3. ท่านรอซูลได้อธิบายเกี่ยวกับอาหารซุหูรว่ามีความประเสริฐ ในรายงานอื่นระบุว่าซุหูรเป็นอาหารที่ได้รับการประทานความประเสริฐโดยอัลลอฮ
4.  บะเราะกะฮ์หมายถึง ผลบุญเพิ่มมากขึ้น
5.  หุก่มของการรับประทานอาหารซุหูร คือ สุนัต ผู้ที่กระทำจะได้รับผลบุญ ในรายงานอื่นมีอยู่ว่าอัลลอฮและบรรดามะลาอิกะห์จะเศาะละวัตแก่บรรดาผู้ที่ รับประทานอาหารซุหูร การเศาะละวัตของอัลลอฮนั้นก็คือ พระองค์จะทรงประทานความโปรดปรานแก่พวกเขา และการเศาะละวัตของบรรดามะลาอิกะห์ก็คือ พวกเขาจะขอให้อัลลอฮทรงให้อภัยแก่พวกเขา ดังนั้นเข้าใจว่าผู้ที่ไม่ได้รับประทานอาหารซุหูรจะไม่ได้รับความโปรดปราน จากอัลลอฮและการวิงวอนจากบรรดามะลาอิกะห์ในเวลานั้น
ศีลอดและอัลกุรอานสามารถช่วยเหลือท่านได้
عَنْ عَبْدِاللهِ بْنِ عُمْرِو بْنِ العاَصِ رَضِىَ اللهُ عَنْهُماَ : أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ  عَلَيْهِ وَسَلَّمِ قاَلَ : الصِّياَمُ وَالْقُرْآنُ يَشْفَعاَنِ لِلْعَبْدِ يَوْمَ القِياَمَةِ . يَقُوْلُ الصِّياَمُ : أَىْ رَبِّ مَنَعْتُهُ الطَّعاَمَ وَالشَّهَواَتِ بِالنَّهاَرِ فَشَفَّعْنِى فِيْهِ وَيَقُوْلُ القُرْآنُ : أَىْ رَبِّ مَنَعْتُهُ النَّوْمَ بِالْلَيْلِ فَشَفَّعْنِى فِيْهِ . قاَلَ فَيُشَفَّعاَنِ
ความว่า
จากอับดุลลาฮฺ บิน อัมรู (บินอัล-อาศ)เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่าน รอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่าการถือศีลอดและอัลกุรอานจะให้ความช่วยเหลือแก่บ่าวในอาคิเราะห์ ศีลอดจะกล่าวว่า โอ้พระผู้อภิบาลของฉัน! ฉันทำให้เขาต้องอดอาหารและอดทนจากอารมณ์ใฝ่ต่ำในตอนกลางวัน ดังนั้น (อนุญาต) ให้ฉันให้ความช่วยเหลือแก่เขาเถิดและอัลกุรอานกล่าวว่าโอ้พระผู้อภิบาลของฉัน! ฉันทำให้เขาต้องอดหลับอดนอนในตอนกลางคืน ดังนั้น (อนุญาต) ให้ฉันให้ความช่วยเหลือแก่เขาเถิดท่านรอซูล กล่าวว่า จากนั้นทั้งสองก็ได้รับอนุญาตจากอัลลอฮฺเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่เขา”(ผู้ ที่ถือศีลอดและอ่านอัลกุรอาน)   (บันทึกโดยอะห์มัด 2/174 อัตเตาะบะรอนี มัจญ์มะอฺ อัซซะวาอิด 3/1818: ริญาล อัตเตาะบะรีย์ ริญาลุ อัศ-เศาะหี๊ห์)
บทเรียนจากหะดีษ
1. หะดีษนี้อธิบายถึงความประเสริฐของการถือศีลอดและการอ่านอัลกุรอาน
2. การถือศีลอดของบ่าวนั้น ก็เพื่อที่เขาจะได้มีความอดทนจากการกิน การดื่ม และควบคุมอารมณ์ใฝ่ต่ำ เนื่องจากแสวงหาความโปรดปรานของอัลลอฮฺ
3. การอ่านอัลกุรอานทำให้บ่าวของอัลลอฮฺมีความอดทนจากการหลับนอนในยามค่ำคืน เพื่อใช้เวลาในการอ่านอัลกุรอาน ทำความเข้าใจเนื้อหาและท่องจำด้วยความซาบซึ้ง
4. อัลลอฮฺทรงอำนาจในการเปลี่ยนแปลงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่นอกเหนือกฏธรรมชาติ เช่น การถือศีลอดและอัลกุรอานสามารถพูดกับอัลลอฮฺได้
5. ไม่มีผู้ใดมีอำนาจและสามารถให้ความช่วยเหลือใดๆ แก่บ่าวของพระองค์ นอกจากจะได้รับการอนุมัติจากพระองค์
6. ใช้ให้ถือศีลอดและอ่านอัลกุรอานอย่างเต็มความหมาย พร้อมกับรักษามารยาทในขณะอ่านอัลกุรอานเพื่อได้รับความช่วยเหลือในอาคิเราะฮฺ
7. เวลาที่ประเสริฐที่สุดในการอ่านอัลกุรอานคือ เวลากลางคืน
8. ใช้ให้ระลึกถึงอาคิเราะฮฺ และความน่าสะพรึงกลัวของอาคิเราะฮฺ พร้อมกับให้เตรียมความพร้อมสำหรับวันนั้น

วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

คุตบะห์วันศุกร์  12 ร่อบีอุ้ลเอาวัล1431    (วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553)
 มหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของโลก (2)  الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮ์ ผู้ทรงอภิบาลโลกทั้งหลาย
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาแล้วทั้งหลาย
กระผมขอซูกูรในเนี้ยะมัตจากพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.)ที่ทรงรักและเมตตาให้เราได้มาพบกันอีกครั้งในวันศุกร์นี้ขอให้พวกเราจงยำเกรงต่อพระองค์และจงระลึกอยู่เสมอว่าวันหนึ่งข้างหน้าอีกไม่นานเกินรอนั้น เราจะต้องกลับไปยังพระองค์แต่ในวันนี้ เราได้ใช้ทรัพยากรจากพระองค์ เราได้รับประโยชน์ต่างๆ มากมายเราแสวงหาซึ่งความสุข ตามอารมณ์ ตามความพอใจขอเราแล้วเราได้คิดบ้างหรือไม่ว่า สิ่งต่างๆที่เราได้รับมากมายเหล่านั้นเราจะตอบแทนในสิ่งนั้นๆ อย่างไร เพราะ ณ พระองค์ นั้นพระองค์ไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆจากมัคลู้คของพระองค์นอกเสียจากความยำเกรงต่อพระองค์ รู้จักพระองค์และกระทำในสิ่งที่พระองค์ทรงใช้ ละเว้นในสิ่งที่พระองค์ทรงห้ามซึ่งในที่สุดวันแห่งการตัดสิน  เราจะได้ประจักษ์กับสิ่งที่เราได้ประพฤติปฏิบัติในวันนี้เพราะมุสลิมทั้งหลาย เรามิได้สาระวนกับสิ่งที่เผชิญอยู่ในปัจจุบันหากแต่เราต้องหมั่นทบทวนอดีต ประพฤติให้ถูกทางในปัจจุบันเพื่อมุ่งผลแห่งอนาคต เมื่อเราต้องกลับไปยังพระองค์ แน่นอนว่าผลของการกระทำของเราในปัจจุบัน จะเป็นตำตอบที่ดีที่สุดสำหรับเราในวันนั้น
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
ทรัพย์สิน และลูกหลานของเราคือสิ่งที่พระองค์ทรงใช้เป็นสิ่งทดสอบถึงการทำอิบาดัรของพวกเราภายใต้ข้อจำกัดในเรื่องของความอดทน ความอดกลั้น ความเข้มแข็งในอิหม่านความศรัทธาในพระองค์ แบบทดสอบต่างๆ จากพระองค์เป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในการทดสอบสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ว่าเรื่องนั้นๆ จะเป็นเรื่องใหญ่ หรือเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ล้วนแล้วเป็นตัววัดที่สำคัญทั้งสิ้น เรื่องต่างๆ ที่พระองค์ทรงทดสอบนั้นเพื่อหวังว่าคนที่ถูกทดสอบจะมีความเข้มแข็งต่อสภาวะที่กำลังประสบอยู่นั้นในขณะเดียวกัน คนอื่นๆ ที่มองดูการทดสอบจากพระองค์อยู่ก็อยู่ในสภาพที่ต้องถูกทดสอบด้วยเช่นกัน ดังนั้นในเมื่อพระองค์ทรงต้องการอิหม่านศรัทธาจากมวลมนุษย์ทั้งหลายอยู่นั้นเราจึงต้องพร้อมที่จะถูกทดสอบด้วย ไม่ว่าเรื่องที่เราถูกทดสอบนั้น จะเล็กๆน้อยๆ ไปจนถึงเรื่องที่ยิ่งใหญ่และมีความรุนแรงเพียงไร ผลจากสิ่งต่างๆเหล่านั้น จึงอยู่ที่สิ่งที่เราได้สัมผัสนั้น เราแสดงออกอย่างไร ดังนั้นขอให้เราทุกคนต้องมีความพร้อมอยู่เสมอสำหรับการทดสอบจากพระองค์ในทุกเรื่องทุกเวลา ทุกสภาวะ ดังเช่น ท่านศาสดามูฮำมัด (ซ.ล.)ได้ถูกทดสอบในสิ่งที่ยิ่งใหญ่จากพระองค์ นั่นคือ การเป็นเด็กกำพร้าที่ต้องขาดทั้งพ่อและแม่ และได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจากลุง ซึ่งเป็นพ่อค้าและมีลูกมากมาย  สิ่งที่ท่านได้รับในวัยเด็ก คือสภาพของเด็กที่ขาดที่พึ่งพิง ไม่มีใครเอาอกเอาใจเหมือนเยาวชนในปัจจุบันที่มีพ่อแม่คอยใจใส่อยู่เสมอ คอยตักเตือนในเรื่องต่างๆ ทั้งการเรียนและปัจจัยต่างๆ ชีวิตของท่านในวัยเด็ก ท่านถูกทดสอบจากพระองค์ในเรื่องนี้แต่ท่านก็อดทนและพร้อมกับการทดสอบโดยไม่ย่อท้อหรือท้อแท้กับชีวิตและความเป็นอยู่ในช่วงนั้น ลุงซึ่งเป็นผู้ปกครองของท่านมักจะให้ความรักและความปรารถนาดีแก่ท่านในเรื่องต่างๆ คอยปกป้อง หากมูฮำมัดในช่วงเยาว์วัยจะพานพบ แต่สิ่งนั้นคงเทียบไม่ได้กับการที่เด็กคนหนึ่งจะพึงได้รับจากพ่อและแม่การใช้ชีวิตของท่านในช่วงนี้จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ท่านมีความอดทนต่อทุกภาวะที่บีบครั้นจิตใจการตัดสินใจในเรื่องที่มีความสำคัญและในการประกาศศาสนาของท่านภายใต้สภาวะที่ถูกต่อต้านจากชนที่ตั้งตนเป็นศัตรูของท่าน
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
ชีวิตของเด็กหรือเยาวชนที่ต้องกลายมาเป็นเด็กกำพร้านั้นเป็นสภาวะทางจิตใจและจิตใต้สำนึกของพวกเขาที่ต้องขาดซึ่งผู้ที่จะเป็นแบบอย่างให้กับเขา ไม่ว่าจะเป็นพ่อหรือแม่ก็ดี อาจกล่าวได้ว่าชีวิตครอบครัวหนึ่งที่มีพร้อมทั้งพ่อและแม่ นั้น ลูกๆที่ผ่านการอบรมเลี้ยงดูจากท่านทั้งสอง จะมีชีวิตที่สดใสได้รับความรักความเอาใจใส่ อยากเรียกร้องสิ่งใดจากพ่อและแม่ก็จะได้ตามใจปรารถนา แต่สำหรับเด็กๆ ที่ขาดความอบอุ่นในครอบครัวการที่จะแสวงหา หรือได้มาด้วยสิ่งที่มุ่งหวัง ต้องมีสิ่งแลกเปลี่ยนซึ่งสังคมหรือสภาพแวดล้อมทางสังคมรอบตัวพวกเขาเหล่านั้น จะเป็นปัจจัยสำคัญในเรื่องสิ่งแลกเปลี่ยนที่เขาได้มาในสิ่งนั้นๆ การแสวงหาความสุขของพวกเขาเหล่านั้น เขาจึงต้องใช้การแลกเปลี่ยนเป็นปัจจัยสำคัญ ดังนั้นสิ่งต่างๆเหล่านี้ จึงเป็นตัววัดผลของการกระทำของพวกเขาและเป็นสิ่งที่จะติดตัวของเขาไปตลอด เพื่อเป็นประจักษ์พยานในการกระทำต่างๆของพวกเขา ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การขัดเกลาของผู้ปกครองของเด็กกำพร้านั้นจะเป็นปัจจัยที่จะชี้นำแนวทางปฏิบัติของเด็กๆ เหล่านั้นในยามที่พวกเขาเติบโตในภายภาคหน้าถ้าหากเขาได้รับการปฏิบัติและได้รับการทดแทนจากการขาดซึ่งพ่อ แม่ ของพวกเขาจะทำให้การดำเนินชีวิตของพวกเขาเหล่านั้น ต่อไป ซึ่งเขาจะเป็นคนดีของสังคมหรือเป็นภาระของสังคม ก็อยู่ที่ การชี้นำแนวทางเหล่านี้ซึ่งแม้ว่าเราจะอยู่ห่างจากพวกเขา แต่ในสังคมเดียวกันแล้วเราจะทอดทิ้งให้เขาเป็นภาระของสังคมกระนั้นหรือ  จากโองการอัลกุรอ่านที่ได้ยกมาในช่วงแรก นั้น ความว่า
093.001 وَالضُّحَى
[93.1] ขอสาบานด้วยเวลาสาย
093.002 وَاللَّيْلِإِذَاسَجَى
[93.2] และด้วยเวลากลางคืนเมื่อมันมืดและสงัดเงียบ
093.003 مَاوَدَّعَكَرَبُّكَوَمَاقَلَى
[93.3] พระเจ้าของเจ้ามิได้ทรงทอดทิ้งเจ้า และมิได้ทรงโกรธเคืองเจ้า
093.004 وَلَلآخِرَةُخَيْرٌلَكَمِنَالأولَى
[93.4] และแน่นอนเบื้องปลายเป็นการดียิ่งแก่เจ้ากว่าเบื้องต้น
093.005 وَلَسَوْفَيُعْطِيكَرَبُّكَفَتَرْضَى
[93.5] และความแน่นอนพระเจ้าของเจ้าจะให้แก่เจ้าจนกว่าจะพอใจ
093.006 أَلَمْيَجِدْكَيَتِيمًافَآوَى
[93.6] พระองค์มิได้ทรงพบเจ้าเป็นกำพร้าแล้วทรงให้ที่พึ่งดอกหรือ?
093.007 وَوَجَدَكَضَالافَهَدَى
[93.7] และทรงพบเจ้าระเหเร่ร่อน แล้วก็ทรงชี้แนะทาง (แก่เจ้า) ดอกหรือ ?
093.008 وَوَجَدَكَعَائِلافَأَغْنَى
[93.8] และทรงพบเจ้าเป็นผู้ขัดสน แล้วให้มั่งคั่ง (แก่) เจ้าดอกหรือ ?
093.009 فَأَمَّاالْيَتِيمَفَلاتَقْهَرْ
[93.9] ดังนั้นส่วนเด็กกำพร้าเจ้าอย่าข่มขี่
093.010 وَأَمَّاالسَّائِلَفَلاتَنْهَرْ
[93.10] และส่วนผู้เอ่ยขอนั้น เจ้าอย่าตวาดขับไล่
093.011 وَأَمَّابِنِعْمَةِرَبِّكَفَحَدِّثْ
[93.11] และส่วนความโปรดปรานแห่งพระเจ้าของเจ้านั้น เจ้าจงแสดงออก
ชีวิตในช่วงเยาว์วัยของท่านศาสดาเป็นช่วงที่ท่านเป็นเด็กกำพร้าที่อยู่ในความอุปการะของลุงการขัดเกลาของลุงในเรื่องต่างๆ เป็นสิ่งหนึ่งที่ย้ำเตือนให้ท่านได้ใช้ชีวิตเฉกเช่นเด็กทั่วๆ ไปแต่สิ่งที่ท่านได้รับและเป็นสิ่งที่เราได้กล่าวถึงท่านในวันนี้ คือความเป็นมหาบุรุษของท่าน ก็ด้วยการขัดเกลาเหล่านี้ ท่านเป็นผู้นำมิใช่ภาระของสังคมและการที่ท่านได้ประสบในช่วงเยาว์วัยของท่านนั้นเป็นสิ่งหนึ่งที่พระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้ให้โองการแก่ท่านในอายะห์ที่ได้ยกมา จะเห็นว่าสภาพของเด็กกำพร้า เป็นสิ่งหนึ่งที่พระองค์ทดสอบ ทั้งตัวเด็กๆ เหล่านั้นและบุคคลอื่นๆในสังคม ที่จะคอยดูแล เอาใจใส่ต่อพวกเขา เสมือนหนึ่งว่า เด็กๆเหล่านั้น คือ ตัวแทนที่ทำให้เราได้แง่คิดว่า การกระทำต่อพวกเขาเหล่านั้นเป็นสิ่งทดสอบต่อพวกเราว่า เรารักท่านศาสดามากน้อยเพียงใดท่านศาสดามีวจนะกับผู้ใกล้ชิดตอนหนึ่งเกี่ยวกับการช่วยเหลือเด็กกำพร้าว่าจะอยู่ใกล้ชิดกับท่านในวันกิยามัต คือใกล้กันเสมือนนิ้วมือของคน นั้นคือการกระทำต่อเด็กๆ เหล่านั้น เป็นการแสดงออกที่มองเห็นได้ว่าพวกเขาเหล่านั้น ได้รับความโปรดปราณจากพระองค์  ซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมต้องมองถึงความสำคัญในเรื่องนี้ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
มหาบุรุษแห่งโลก มิใช่เป็นคนที่มีความเพียบพร้อมทุกๆ อย่างมิใช่คนที่มีทรัพย์สินมากมายมหาศาล จะเห็นได้ว่า คนที่ร่ำรวยที่สุดหากพระองค์จะเอาคืน เพียงชั่วพริบตา ทรัพย์สินมากมายมหาศาลเหล่านั้นก็จะอันตธานหายไปเป็นของผู้อื่น หรือตกเป็นของแผ่นดิน หากแต่การเป็นมหาบุรุษที่ยิ่งใหญ่ ก็ด้วยกระบวนการขัดเกลาในช่วงเยาว์วัยพวกเขาเหล่านั้นได้รับสิ่งใดเป็นตัวอย่างกระบวนการต่างๆเหล่านั้นได้สร้างให้พวกเขาได้เห็นถึงความเข้มแข็ง ความอดทนและจริยธรรมที่ดีแก่พวกเขามากน้อยเพียงใดวันนี้พวกเขาถูกทดสอบในเรื่องหนึ่งและเราทั้งหลายก็ถูกทดสอบในเรื่องเดียวกันนี้ เช่นกัน เพียงแต่ว่าพวกเขาประสบกับเรื่องนั้นโดยตรง แต่เราเป็นเพียงผู้ที่คอยดูอยู่ห่างๆแต่ถ้าเราเพิกเฉยต่อพวกเขา แน่นอนในวันหน้า เมื่อพวกเขาเป็นภาระของสังคมเราย่อมได้รับผลกระทบในทางอ้อม หรือโดยตรง แต่ถ้าเราไม่เพิกเฉยต่อพวกเขาให้โอกาสกับพวกเขา สนับสนุนในเรื่องที่ดีกับพวกเขา แน่นอนว่าเมื่อเขาเติบใหญ่แล้ว เขาแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นคนดีของสังคม แล้วเราซึ่งคอยดูแลพวกเขา แน่นอนความภูมิใจที่ได้รับการแสดงความปรารถนาดีต่อพวกเขา นั่นคือชัยชนะของสังคม ไม่มีใครทราบได้ว่าเด็กๆ เหล่านั้น อาจได้เป็นมหาบุรุษในสังคมก็เป็นได้      

  إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا
رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ
إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ
 سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ
 وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ
وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
การประสูติของท่านศาสดามุฮัมมัด  (ซ.ล.)
                ท่านศาสดา  (ซ.ล.)  ได้ทรงถือกำเนิดในวันจันทร์ตรงกับวันที่  12  เดือนร่อบีอุ้ลเอาวั้ล  ปีช้าง  ซึ่งนับเป็นวันที่น่าปิติยินดีที่สุดวันหนึ่งที่ดวงตะวันได้ขึ้นทอแสงเฉิดฉายในวันนั้น  พระองค์คือ  ท่านศาสดามุฮัมมัด  (ซ.ล.)  ผู้เป็นบุตรของท่านอับดุลลอฮฺ  บุตรท่านอับดุลมุตตอลิบ  บุตรท่านฮาชิม  บุตรท่านอับดุลม่านาฟ  บุตรท่านกุซอยย์  บุตรท่านฮ่ากีม  (กิล๊าบ)  บุตรท่านมุรเราะห์  บุตรท่านกะอฺบ์  บุตรท่านลุอัยย์  บุตรท่านฆอลิบ  บุตรท่านฟิฮฺริน  บุตรท่านมาลิก  บุตรท่านอันนัฎร์  บุตรท่านกินานะฮฺ  บุตรท่านคุซัยมะห์  บุตรท่านมุดริกะห์  บุตรท่านอิลย๊าส  บุตรท่านมุฎ็อร  บุตรท่านนิซาร  บุตรท่านมุอัด  บุตรท่านอัดนาน  เชื้อสายของท่านอัดนานสืบสิ้นสุด    ท่านศาสดาอิสมาแอล  (อ.ล.)  บุตรท่านศาสดาอิบรอฮีม  (อ.ล.)
                ครั้นเมื่อมารดาของท่านศาสดาได้ทรงคลอดท่านศาสดาแล้ว  พระนางก็ได้ส่งคนไปบอกท่านอับดุลมุตตอลิบผู้เป็นปู่ว่า  “ท่านได้หลานชายแล้ว”  อับดุลมุตตอลิบจึงรุดมาหาดูหน้าหลานชายและอุ้มเข้าสู่ภายในตัวอาคารอัลกะอฺบะฮฺและได้ตั้งชื่อให้ว่า  “มุฮัมมัด” (ผู้ได้รับการแซ่สร้องสาธุการ)ซึ่งชื่อนี้เป็นชื่อที่เรียกและตั้งกันน้อยมาก (จนแทบไม่ปรากฏ)ทำให้ชาวอาหรับในยุคนั้นพากันประหลาดใจไปตาม ๆ กัน
                ท่านศาสดาได้เดินทางอพยพถึงนครม่าดีนะห์ในวันที่  12  เดือนร่อบีอุ้ลเอาวั้ล  ตรงกับ  วันจันทร์  พระองค์ได้ทรงวางศิลารากฐานแรกแห่งสังคมอิสลามยุคแรกเริ่ม    นครม่าดีนะห์
                ท่านศาสดา  (ซ.ล.)  ได้ทรงสิ้นพระชนม์ในวันจันทร์ที่  12  เดือนร่อบีอุ้ลเอาวั้ล  ปีที่  11  แห่งฮิจเราะห์ศักราช  ท่านอิบนุกะซีรได้กล่าวว่า  “ไม่มีการขัดแย้งกันว่าท่านศาสดาได้ทรงเสียชีวิตในวันจันทร์”  และท่านอิบนุอับบ๊าส  ได้กล่าวว่า  “ศาสดาของพวกท่านทั้งหลายได้ทรงถือกำเนิดในวันจันทร์  และได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นศาสดาในวันจันทร์  และอพยพออกจากนครมักกะฮฺในวันจันทร์และเข้าสู่นครม่าดีนะห์ในวันจันทร์และทรงเสียชีวิตในวันจันทร์  (รายงานโดยท่านอิหม่ามอะห์หมัดและท่านอัลบัยฮ่ากีย์) 
                ท่านซุฟยาน  อัซเซารีย์  รายงานจากท่านฮิชาม  อิบนิ  อุรวะห์  จากบิดาของเขาจากพระนางอาอิชะห์  (รฎ.)  พระนางกล่าวว่าท่านอบูบักรได้กล่าวแก่ฉันว่าท่านศาสดาทรงเสียชีวิตวันใด  ฉันกล่าวว่า  วันจันทร์”  ท่านอบูบักรก็ได้กล่าวขึ้นว่า  “ฉันก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าฉันจะตายในวันจันทร์  และท่านก็ได้เสียชีวิตในวันนั้น”  (รายงานโดยอัลบัยฮะกีย์)  และรายงานจากท่านอนัส  ว่า  “ท่านศาสดาทรงเสียชีวิตขณะมีอายุได้  63  ปีและท่านอุมัรก็ได้เสียชีวิตเมื่ออายุได้  63  ปี”  (อิหม่ามมุสลิมรายงานเพียงลำพัง) 
                และได้มีรายงานมาในซอเฮียะห์บุคอรีและมุสลิมจากหะดีษของท่านอัลลัยซฺ  อิบนิสะอฺด์จากท่านอุกอยล์จากท่านอัซซุฮรีย์จากท่านอุรวะฮฺจากพระนางอาอิชะฮฺ  (รฎ.)  พระนางกล่าวว่า  “ท่านศาสนทูต  (ซ.ล.)  ทรงเสียชีวิตขณะท่านมีอายุได้  63  ปี”  และพระนางอาอิชะฮฺยังได้กล่าวไว้ในอีกสายรายงานหนึ่งว่าท่านศาสดาและท่านอบูบักรได้กล่าวถึงวันเวลาเกิดของทั้งสองต่อหน้าฉัน  ท่านศาสดามีอายุมากกว่าท่านอบูบักรและท่านเสียชีวิตขณะมีอายุได้  63  ปี  และท่านอบูบักรได้เสียชีวิตหลังจากท่านศาสดาขณะมีอายุได้  63  ปี” 
                ส่วนช่วงเวลาที่ท่านเสียชีวิตในวันจันทร์ที่  12  นั้นมีสายรายงานจากท่านอัซซุฮฺรีย์จากท่านอนัสว่าท่านศาสดาทรงเสียชีวิตในช่วงเวลาเย็นของวันนั้น  ท่านอิบนุกะซีรกล่าวว่า  “หะดีษบทนี้เป็นหะดีษซอเฮียะห์และบ่งชี้ว่าเวลาที่ท่านศาสดาเสียชีวิตนั้นเป็นช่วงเวลาหลังตะวันคล้อยไปแล้ว  วัลลอฮุอะอฺลัม”   แต่สายรายงานจากท่านอัลเอาซาอีย์  กล่าวว่าท่านเสียชีวิตในช่วงก่อนเวลาบ่าย
                ในช่วงเวลาที่เหลือของวันที่  12  (วันจันทร์)  และอีกบางส่วนของวันอังคารเหล่าอัครสาวกก็ยุ่งอยู่กับการให้สัตยาบันแก่ท่านอบูบักร  อัซซิดดีก  ครั้นเมื่อเสร็จกิจธุระในเรื่องนี้แล้ว  เหล่าอัครสาวกก็เริ่มเตรียมการเกี่ยวกับศพของท่านศาสดา (ซ.ล.)  โดยปฏิบัติตามท่านอบูบักรในกรณีเกิดปัญหาใด    มีรายงานจากพระนางอาอิชะฮฺว่า  ท่านศาสดาทรงเสียชีวิตในวันจันทร์และถูกฝังศพในวันพุธ 
                รายงานจากท่านอิกริมะฮฺ  จากท่านอิบนิ  อับบ๊าสว่า  “ผู้คนได้รวมตัวกันเพื่อทำการอาบน้ำศพท่านศาสดา  และในบ้านของท่านศาสดาก็มีแต่วงศ์วานของท่าน  อันได้แก่ท่านอับบ๊าส  อิบนุ  อับดิลมุตตอลิบ  ท่านอาลี  อิบนุ  อบีตอเล็บ  ท่านฟัดส์  อิบนุ  อับบ๊าส  ท่านกุซุม  อิบนุ  อับบ๊าส  ท่านอุซามะหฺ  อิบนุ  เซด  อิบนิ  ฮาริซะฮฺ  และท่านซอและห์คนรับใช้ของท่านอุซามะห์  ท่านอับบ๊าส  ท่านฟัดส์  ท่านกุซุม  คอยร่วมกันพลิกศพพร้อมกับท่านอาลี  และท่านอุซามะห์กับท่านซอและห์คอยรดน้ำ  ท่านอาลีเป็นผู้เริ่มอาบโดยศพของท่านศาสดาถูกปดปิดมิดชิดและท่านอาลีก็ไม่พบว่ามีสิ่งใดออกมาจากศพของท่านดังเช่นศพของบุคคลอื่นที่มักจะมีสิ่งที่ไม่ดีออกมาปรากฏให้เห็น  (เช่นมีน่ายิส)